วิจัยเชิงปริมาณ
วิจัยเชิงปริมาณ

วิจัยเชิงปริมาณ

วิจัยเชิงปริมาณ-เชิงคุณภาพ-ต่างกันอย่างไร
09
Aug

วิจัยเชิงคุณภาพ, เชิงปริมาณคืออะไร และต่างกันอย่างไร

วิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณนั้นแตกต่างกันอย่างไร การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการศึกษาวิจัยประเภทหนึ่งที่มุ่งเน้นศึกษาปรากฏการณ์ในภาพรวม ซึ่งสังเกตสิ่งที่ศึกษาอย่างเป็นธรรมชาติ โดยปรกติแล้วนิยมใช้การวิเคราะห์จากเอกสาร แบบสัมภาษณ์ และการสังเกตเพื่อการรวบรวมข้อมูลที่เป็นภาพรวมและหลากหลายมิติ โดยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นต้องสามารถครอบคลุมลักษณะสำคัญทั้ง 5 ของการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย 1. ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลักในการวิเคราะห์ 2. มุ่งทำความเข้าใจเชิงลึก เช่น รายละเอียด บริบท องค์รวม หรือพลวัตของสิ่งที่ศึกษา เป็นต้น 3. มีการเก็บข้อมูลที่หลากหลายและเหมาะสมกับรูปแบบข้อมูล 4. สามารถออกแบบกระบวนการได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อความสอดคล้องตามประเด็นที่ศึกษา 5. วิเคราะห์โดยอาศัยการตีความจากข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งในการเสาะหาข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการการสังเกตุและการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมกับประเภทของการวิจัยและมีประสิทธิภาพดังที่ได้กล่าวไว้ตอนต้นนั้น ก็มีความจำเป็นต้องควรคุมและใช้วิธีที่เหมาะสมด้วย ซึ่งสามารถแสดงได้ดังนี้ การสังเกตในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ การสังเกตในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ต้องศึกษาและบันทึกผลไปตามความเป็นจริงและเป็นวัตถุวิสัย (Objective) โดยไม่มีการดัดแปลงหรือใส่ความเห็นของตนในกระบวนการนี้ นอกจากนั้นยังต้องกำหนดจุดยืนของผู้ศึกษาวิจัยต่อปรากฎการณ์ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับชุดข้อมูลที่ต้องการ ในปัจจุบันการวิจัยเชิงคุณภาพนิยมใช้การสังเกต 2 ประเภทในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพการสัมภาษณ์ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หรือกึ่งโครงสร้าง กล่าวคือเป็นคำถามที่ยืดหยุ่นไปตามประเด็นของกลุ่มตัวอย่าง มีลักษณะเป็นการสนทนาโต้ตอบ และเป็นคำถามปลายเปิด โดยนอจกาประเด็นของคำถามแล้ว ในการสัมภาษณ์ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาวิจัยเองจะต้องมีทักษะมีความรู้ลึกและกว้างในเรื่องที่สัมภาษณ์ รวมถึงมีความสามารถในการจับประเด็น […]

Share This Post