Warning: Creating default object from empty value in /home/abactutor/domains/xn--12c7bhbc4cd2ilbc9ysb.com/public_html/wp-content/plugins/transida-plugin/redux-framework/ReduxCore/inc/class.redux_filesystem.php on line 29
วิจัยเชิงคุณภาพ, เชิงปริมาณคืออะไร และต่างกันอย่างไร - รับทำการบ้าน.com
09
Aug

วิจัยเชิงคุณภาพ, เชิงปริมาณคืออะไร และต่างกันอย่างไร

วิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณนั้นแตกต่างกันอย่างไร

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการศึกษาวิจัยประเภทหนึ่งที่มุ่งเน้นศึกษาปรากฏการณ์ในภาพรวม ซึ่งสังเกตสิ่งที่ศึกษาอย่างเป็นธรรมชาติ โดยปรกติแล้วนิยมใช้การวิเคราะห์จากเอกสาร แบบสัมภาษณ์ และการสังเกตเพื่อการรวบรวมข้อมูลที่เป็นภาพรวมและหลากหลายมิติ โดยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นต้องสามารถครอบคลุมลักษณะสำคัญทั้ง 5 ของการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย

 
  • 1. ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลักในการวิเคราะห์
  • 2. มุ่งทำความเข้าใจเชิงลึก เช่น รายละเอียด บริบท องค์รวม หรือพลวัตของสิ่งที่ศึกษา เป็นต้น
  • 3. มีการเก็บข้อมูลที่หลากหลายและเหมาะสมกับรูปแบบข้อมูล
  • 4. สามารถออกแบบกระบวนการได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อความสอดคล้องตามประเด็นที่ศึกษา
  • 5. วิเคราะห์โดยอาศัยการตีความจากข้อมูลเป็นหลัก

ซึ่งในการเสาะหาข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการการสังเกตุและการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมกับประเภทของการวิจัยและมีประสิทธิภาพดังที่ได้กล่าวไว้ตอนต้นนั้น ก็มีความจำเป็นต้องควรคุมและใช้วิธีที่เหมาะสมด้วย ซึ่งสามารถแสดงได้ดังนี้

การสังเกตในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ

การสังเกตในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ต้องศึกษาและบันทึกผลไปตามความเป็นจริงและเป็นวัตถุวิสัย (Objective) โดยไม่มีการดัดแปลงหรือใส่ความเห็นของตนในกระบวนการนี้ นอกจากนั้นยังต้องกำหนดจุดยืนของผู้ศึกษาวิจัยต่อปรากฎการณ์ให้ชัดเจนและเหมาะสมกับชุดข้อมูลที่ต้องการ ในปัจจุบันการวิจัยเชิงคุณภาพนิยมใช้การสังเกต 2 ประเภทในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

  • การสัมภาษณ์ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ

    การสัมภาษณ์ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หรือกึ่งโครงสร้าง กล่าวคือเป็นคำถามที่ยืดหยุ่นไปตามประเด็นของกลุ่มตัวอย่าง มีลักษณะเป็นการสนทนาโต้ตอบ และเป็นคำถามปลายเปิด โดยนอจกาประเด็นของคำถามแล้ว ในการ

    สัมภาษณ์ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ
  • ผู้ศึกษาวิจัยเองจะต้องมีทักษะมีความรู้ลึกและกว้างในเรื่องที่สัมภาษณ์ รวมถึงมีความสามารถในการจับประเด็น เพื่อดำเนินการสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบและมีโครงสร้างที่เหมาะสมกับประเด็นที่สนทนาอยู่
วิจัยเชิงคุณภาพ-วิจัยเชิงปริมาณ

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการศึกษาวิจัยประเภทหนึ่งที่มุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มากกว่าสองตัวแปรขึ้นไป โดยตัวแปรต้นและตัวแปรามต้องมีความสัมพันธ์เชิงเส้น และมีแบบจำลองของการวัดปริมาณเชิงบวก (additive model) มีจุดประสงค์ในการทำนายความเป็นไปได้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับลักษณะที่ศึกษาในอนาคต ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นต้องคำนึงถึงคุณภาพในองค์ประกอบของ 3 ส่วนหลัก ได้แก่

 

1. คุณภาพของกลุ่มตัวอย่าง และเครื่องมือในการหากลุ่มตัวอย่าง

2. คุณภาพของเครื่องมือในการวิเคราะห์ และการเก็บข้อมูล

3. ความเหมาะสมในการเลือกประเภทของการวิจัยให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา

การวิจัยเชิงปริมาณส่วนมากนิยมเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และทำการประมวลผลข้อมูลผ่านระบบสถิติเป็นหลัก ซึ่งในข้อกำหนดที่เคร่งครัดของการวิจัยเชิงปริมาณนั้น ได้กำหนดให้มีการใช้แนวทางปฏิฐานนิยม (Positivism)ในการอธิบายปรากฎการณ์และผลการศึกษา เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของการสรุปชุดข้อมูลให้มากที่สุดแม้จะไม่สามารถลบความคลาดเคลื่อนของชุดข้อมูลได้ทั้งหมดก็ตาม การวิจัยเชิงปริมาณจึงนิยมกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ ไว้เพื่อระบุถึงแนวโน้มที่ชุดข้อมูลในการศึกษาที่ “อาจจะ” ผิดพลาดได้ ในร้อยละ 1 หรือร้อยละ 5 ตามแต่ความเหมาะสมของชุดข้อมูล

นอกจากความเคร่งครัดในการกำหนดแนวทางแบบปฏิฐานนิยมในการศึกษาแล้ว การวิจัยเชิงปริมาณยังเน้นถึงการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน หรือตัวแปรควบคุมให้มีความเสถียร เพื่อให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และเน้นไปยังการกำหนดมิติหรือองค์ประกอบขององค์ประกอบของปรากฎการณ์ที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะเครื่องมือวิเคราะห์เชิงสถิติ และไม่ผลการศึกษาวิจัยในรูปแบบของตัวเลขเพื่อสร้างผลการศึกษาเชิงประจักษ์